หน้าเว็บ

ขึ้นเงินเดือนข้าราชการ แล้วพนักงานเอกชนและอาชีพอิสระล่ะ..

การขึ้นเงินเดือนข้าราชการทีไร ไม่ว่ามองจากมุมไหนของสังคมก็เป็นข่าวที่เกรียวกราวทุกที เป็นที่วิภาควิจารณ์กันอย่างสนุกสนานและหลากหลายมุมมอง

แต่คนที่คิดว่าน่าจะได้รับประโยชน์มากที่สุดคือ ตัวข้าราชการเอง และครอบครับ นี่คือกลุ่มแรกที่ไม่มีใครปฏิเสธและคงไม่บอกกลับไปสู่รัฐบาลว่าไม่จำเป็นต้องขึ้นให้ก็ได้ เชื่อเถอะใคร ๆ ก็อยากได้ค่าตอบแทนเพิ่มกันทั้งนั้น

และกลุ่มที่มองว่านี่เป็นเรื่องดีฝ่ายหนึ่งก็คือ รัฐบาล นักการเมืองต่างๆ ที่มองว่านี่คือผลงานชิ้นหนึ่งที่ได้ทำประโยชน์ให้กับประเทศชาติ และคนจำนวนมากของสังคมอีกกลุ่มหนึ่ง เพราะนี่คือกลุ่มคนที่มีความรู้มีการศึกษาทั้งนั้น แน่นอนข้าราชการส่วนใหญ่ ไม่ได้เป็นตาสีตาสาคนธรรมดาแน่ ๆ ผลงานที่รัฐบาลทำวันนี้คงจะตราตรึงในจิดใจของข้าราชการไปอีกนาน เพราะใคร ๆ ก็รู้ข้าราชการไม่ได้ขึ้นเงินเดือนกันบ่อย ๆ 

และอีกกลุ่มหนึ่งที่มองว่า ไม่ว่าจะขึ้นเงินเดือนราชการ หรือคนเอกชน หรือผู้ประกอบอาชีพส่วนตัว จะเป็นใครก็ได้คือคนทำมาค้าขาย(เจ้าของกิจการ) และหน่วงงานทางด้านการเงิน เพราะนี่คือจะเป็นแหล่งทุนเพื่อใช้ในการจับจ่ายซื้อหาสินค้าและบริการ ที่จะมีเพิ่มขึ้นแน่นอนและจะมียอดการชำระหนี้ที่ดี่ขึ้นด้วย 

แต่ใช่ว่าทุกคนจะมองไปในแง่ดีกันหมดนะครับ มุมมองอีกด้านก็มีนะ หลายคนมองว่ารัฐบาลแต่ละยุกต์สมัยที่ปรับขึ้นเงินเดือนข้าราชการ หรือปรับค้าจ้างค่าแรงขึ้นต่ำ หวังผลอะไรอยู่หรือเปล่า ประเด็นทางการเมืองย่อมถูกยกมาพูดถึงกันอยู่บ้าง อย่าลืมนะครับว่าจำนวนข้าราชการในเมืองไทยเราทีอยู่ไม่ใช่้น้อย ๆ นะ แน่นอนเป็นฐานเสียงเรียกคะแนนให้กับนักการเมืองได้มากอยู่เหมือนกัน 

แต่ถ้าไม่เพ่งไปทางการเมือง ก็มองการได้รับสิทธิ์ที่ดูจะมากกว่าหรืออะไรที่ไม่เท่าเทียมกันจากฟากของลูกจ้างเอกชน หรือคนกินเงินเดือนจากฝั่งของหน่วยงานเอกชนเขาบ้าง หรือแม้แต่ผู้ประกอบอาชีพอิสระทั้งหลายที่ไม่ได้เป็นลูกจ้างใครเลย ก็อาจจะมองว่าจำเป็นต้องขึ้นด้วยเหรอ เพราะเห็นข้าราชการเขาก็ทำงานสะบายกันดีจะตาย ความเป็นอยู่ก็ไม่เห็นจะลำบากตรงไหน แต่พวกเขาสิ ทำงานหนักกว่าตั้งเยอะ แต่ก็ไม่ได้รับสิทธิ์ หรือมีสวัสดิการเท่ากับข้าราชการเลย น้อยกว่าด้วยซ้ำไป 

แม้เงินเดือน หรือรายรับจากงานเอกชนโดยเฉลี่ย (ผมพูดโดยเฉลี่ยเพราะมองภาพรวม) จะมากกว่างานราชการ แต่ก็อย่าลืมหลายประเด็นนะครับที่ทำให้ได้รับรายได้อย่างนี้ อย่างน้อยเรื่องเวลาการทำงาน โดยทั่วไปงานเอกชนทำงาน 6 วันต่อสัปดาห์เป็นอย่างน้อย บางแห่ง 7 วันด้วยซ้ำไปติดต่อกันเลย แต่ก็ให้โอกาสพนักงานเลือกวันหยุดได้ติดต่อกัน 4 วันใน 1 เดือน และวันหยุดที่รัฐประกาศให้เป็นวันหยุดราชการ งานเอกชนไม่ได้หยุดนะ จะได้หยุดเฉพาะในวันหยุดราชการที่เป็นเรื่องของเทศกาล และวันสำคัญของชาติเท่านั้น 

เรื่องสวัสดิการทางสังคม หรือสวัสดิการที่เป็นเรื่องพื้นฐาน ก็ได้น้อยกว่าราชการอยู่่แล้วชัดเจนมาก เช่นสิทธิการรักษาพยาบาล ในยามเ็จ็บไข้ไม่สบาย มีประกันสังคมเหมือนกัน แต่ก็ใช้สิทธิได้เฉพาะของตนเอง คนในครอบครัวไม่สามารถใช้สิทธิ์เบิกค่าใช้จ่ายได้ เรื่องของการเบิำกค่าเล่าเรียนของบุตร เอกชนทำไม่ได้ครับต้องจ่ายเต็ม เรื่องบำเหน็ด และบำนาญ ไม่เคยมีในประวัติศาสตร์งานเอกชน จะจ่ายให้คนที่เกษียณแล้วเป็นไปไม่ได้ (ยกเว้นเจ้าของกิจการยังพอได้รับอยู่แม้จะอายุเกิน 60 แล้วก็ตาม) และผลประโยชน์อื่นๆ อีกมากมาย ทั้งในแบบที่มองเห็นและไม่เห็น(ผลประโยชน์แฝง) เช่นเกียรติ และศักดิ์ศรี ซึ่งไม่สามารถวัดออกมาเป็นตัวเลขที่ชัดเจนได้ 

งานเอกชน เขาวัดกันที่ผลงานเป็นหลัก รองลงมาคือเวลาในการทำงาน และที่แตกต่างจากงานราชการที่ทำให้ได้เงินเืดือนหรือรายได้เยอะกว่า คือความพอใจของนายจ้าง พนักงานทำงานดี ทำตัวดี เจ้านาย(เจ้าของกิจการ) ก็เพิ่มเงินเดือน หรือโบนัสให้โดยไม่ต้องรอให้ใครอนุมัติ หรือไม่ต้องรอให้หน่วยงานของรัฐเป็นผู้อนุญาต 

ที่จริงรายได้หรือฐานเงินเดือนของคนที่ทำงานเอกชน ไม่เท่ากันทุกที่หรอกครับ บางบริษัทให้เงินเดือนพนักงานน้อยกว่าฐานเงินเดือนด้วยซ้ำไป แต่มีเงื่อนไขเพิ่มเติมที่จะทำให้มีรายได้มากขึ้น นั่นอยู่ที่ความสามารถของตัวพนักงาน ได้แก่ค่าคอมมิชชั่น หรือเงินโบนัสต่างๆ ซึ่งอาจจะจ่ายเป็นรายเดือน หรือไตรมาส หรือสิ้นปี ก็แล้วแต่ละที่จะกำหนด แต่นั่นมันแสดงให้เห็นว่า พนักงานเหล่านั้นจะได้เงินเพิ่มขึ้นต้องทำผลประโยชน์ให้กับหน่วยงานหรือบริษัทนั่นก่อน หรือพูดง่าย ๆ ทำงานเข้าเป้า ได้ตามเป้า ได้ตามเกณฑ์ที่ตกลงกันไว้

ถ้าจะให้ความเป็นธรรมเกิดขึ้นในสังคม เฉพาะเรื่องรายได้ ผมเองในฐานะเคยทำงานราชการ แต่ทำงานเอกชนมากกว่า สุดท้ายทำอาชีพอิสระ อยากให้มองกันเรื่องผลงานมากกว่า เพราะงานแต่ละตำแหน่ง การทำงานมันแตกต่างกัน แต่ละอาชีพใช้ความสามารถ ความสัดทัดงานเฉพาะด้่านต่างกัน จะใช้เกณฑ์เงินเดือนเท่ากันคงเป็นไปไม่ได้ และจะมาวัดว่าเอกชน หรือราชการใครทำงานดีกว่ากันก็คงไม่ได้อีก 

แต่ให้มองตรงเนื้องาน ว่าทำมากน้อยแค่ไหน ผลงาน ประสิทธิภาพ เป็นอย่างไร ผมว่าอาชีพไหนก็แล้วแต่ อยากให้คิดว่า


  "ทำมากได้มาก"  เท่านี้รู้สึกว่าเป็นธรรมที่สุดแล้ว

...............................
บทความที่เกี่ยวข้อง : ขึ้นเงินเดือนข้าราชการ ขึ้นค่าครองชีพ