หน้าเว็บ

คนชนบท ไม่หายจากโรค ทั้งที่ไปหาหมอก็บ่อย



วันนี้ คนเมือง คนชนบท ได้รับสิทธิ์ขั้นพื้นฐานในการรักษาพยาบาล จากโรคต่าง ๆ เหมือน ๆ กัน เจ็บป่วยนิด ๆ หน่อย  ๆ ก็วิ่งไปหาหมอกันแล้ว ต่างกับสมัยก่อน อดทน จนบางครั้งอาการของโรคเงียบหายไปเอง เพราะไม่มีเงินที่จะไปจ่ายค่าหมอ ค่ายา เพราะต้องจ่ายเงินกันก่อน ก่อนที่จะได้รับสิทธิ์อื่นๆ มี่พอจะมีอยู่บ้าง แต่เดี๋ยวนี้ไม่ต้องพกเิิงินก็เข้ารักษาได้

แต่ยังไง ก็มีปัญหาอีกจนได้ ทั้งที่ค่ายาค่าหมอก็ฟรี แต่โรค หรืออาการต่างๆ ก็ยังไม่ทุเลาลง หรือไม่หายซะที ยาก็กิน หาหมอเหรอ ก็ไปตามที่เขานัด หรือเป็นเพราะว่าตัวยาที่ทางรัฐจ่ายให้นั้น มีประสิทธิภาพที่อยู่ในมาตรฐาน แต่ตัวยาไม่แรงพอ เพราะได้ยินบ่อย ชาวบ้านมักพูดว่า ยาโรงบาลอ่อน ไม่แรง กินเท่าไหร่ก็ไม่หาย 

แต่จริง ๆ แล้ว การที่หน่วยงานของรัฐเลือกยามาใช้กับงานสาธารณะอย่างนี้ มันต้องมีเกณฑ์การตัดสิน มีมาตรฐานของระบบอยู่แล้ว จะเอายาราคาถูกแล้วด้อยประสิทธิภาพมาขาย หรือมาแจกจ่ายก็ไม่ได้ จะซื้อยาจากบริษัทเล็ก ๆ ห้องแถวมาให้คนไข้ก็คงเป็นไม่ได้อีกเช่นกัน คิดว่าเรื่องตัวยาไม่ใช่ประเด็นหลักมากนัก มีผลอยู่บ้าง ถ้าเทียบกับยาดี ๆ แพง ๆ ที่หลายคนมักไปซื้อกินเอง หรือไปหาหมอตามคลินิกเอกชนในตัวเมือง แต่นั่นก็ต้องเสียเงินซื้อมา ซึ่งมันก็เป็นยาที่อยู่ในมาตรฐานเดียวกันกับยาในโรงพยาบาล แต่อาจจะแรงกว่านิด ความเข้มข้นของส่วนผสมอาจจะสูงกว่าสักนิด

ผมคิดว่าประเด็นหลักที่ชาวบ้านตาดำ ๆ ขาว ๆ หม่น ๆ บางคนไม่หายขาดจากโรค ทั้งที่ได้รับคำแนะนำ ได้รับยาจากหมอ จากหน่วยงานของรัฐ จะเป็นเรื่องของพฤติกรรม การใช้ชีวิตประำจำวัน ของแต่ละคนมากกว่า ได้แ่ก่

1.หน้าที่การงาน ที่ขัดต่อคำเตือนของหมอ เช่นให้พักผ่อนให้เพียงพอ แต่ก็ชาวบ้านครับ ยังต้องทำงาน และงานที่ทำส่วนใหญ่คือการใช้แรงงาน ทำงานหนัก เพราะเป็นแค่เกษตรกร เป็นกรรมกร เป็นลูกจ้าง น้อยคนที่อยู่อย่างว่างงาน ทำงานนั่งเก้าอี้อยู่ในห้องแอร์



2. งด เครื่องดื่มทีมีแอลกอฮอล์ และบุหรี่ ไม่ว่าหมอที่ไหน จะเตือนคนไข้อย่างนี้เหมือนกันหมด เพราะเจ้าพวกนี้ เป็นอันตรายกับทุกโรค เป็นตัวกระตุ้นให้อาการรุนแรงขึ้นได้กับทุกโรค แม้บางคนจะไม่ได้เป็นโรคอะไร แต่การดื่มเหล้า สูบบุหรี่ ก็เป็นต้นเหตุให้ร่างกายทรุดโทรมจนเป็นโรคในที่สุด แต่ก็ชาวบ้านอีกนั่นแหละครับ คิดว่า ไม่เป็นไร คิดว่าสูบมาตั้งนานแล้วคนอื่น ๆ เขาไม่เป็นไร ก็เห็นคนแก่บางคนอายุ หกสิบ เจ็ดสิบ สูบใบจากกับยาเส้นมาแต่หนุ่ม ๆ ยังแข็งแรงอยู่เลย สูบวันละไม่กี่มวนคงไม่เป็นไรหรอก ที่จริงแล้วมันมีผลทั้งนั้นล่ะครับ เพราะสิ่งที่นำเข้าไปในร่างกายคือควัน มันเป็นสารพิษ สารเคมีที่อยู่ในเนื้อยาเส้น ในใบจาก ในมวนบุหรี่ แต่ถ้าคิดให้ดี คนแก่ที่อายุเยอะแล้วสูบยา สูบบหรี่แล้วยังแข็งแรง เหลืออยู่สักกี่คน เมื่อเทียบกับคนส่วนใหญ่ของสังคมในพื้นที่นั้น ๆ 

     เหล้าก็เช่นกัน ในชนบทก็มีเหล้าให้ดื่มกันหลายประเภท อย่างเหล้าขาว เหล้าเถื่อน(ที่หุงต้มกันเอง) เบียร์ ก็มีขายกันเกลื่อน เหล้าแดง(เหล้ายี่ห้อดัง ๆ ต่าง ๆ) หรือของพื้นบ้านอย่างน้ำตาลจากต้นตะโหนด ที่แช่ไว้สักพักก็เป็น ตะหวาก หรือบางที่เรียกน้ำตาลเมา อันนี้ก็ไม่ต่างกันกับเหล้ากับเบียร์ หากินได้สะดวก ไม่ต้องซื้อ ไม่เปลืองเงิน จะเห็นว่ามีหลากหลายมากที่เป็นตัวทำลายสุขภาพ และหาได้ง่ายมาก ๆ มันเลี่ยงไม่พ้น วันนี้คนไข้ไม่อยากกิน แต่ข้างบ้านเขานั่งตั้งวงกัน หรือมีกิจกรรมกัน คนมาร่วมพอสมควร ก็จำเป็นต้องไปร่วมกิจกรรม ไม่ไปก็ไม่ได้ แต่บางคนไม่อยากกินเหล้า แต่พออยู่ในกลุ่มเพื่อนบ้าน เขายื่นให้ ก็ปฏิเสธได้บ้าง ไม่ได้บ้าง ด้วยความเกรงใจ เพราะคนบ้านนอกมีอะไรก็ชอบชวนเพื่อนกิน ชวนเพื่อนดื่ม การปฎิเสธอย่างเด็ดขาดเป็นเรื่องที่ทำได้ยากสุด ๆ 

3. ประเภทอาหารที่สั่งห้าม ไม่สอดคล้องกับชีวิตประำจำวัน ผมคิดว่าคนบ้านนอกหลายคนมีความเชื่อว่า ยังกินอะไรได้ก็กินไปเลย เพราะถ้าเลือกมาก ก็อด อย่าลืมนะครับว่า คนชนบทในปัจจุบันหน้าที่การงาน การหาเลี้ยงชีพ ก็ไมต่างกับคนเมืองมากนัก หาเช้ากินค่ำ ปากกัดตีนถีบ จะให้มาพิถีพิถันเรื่องอาหารการกินอย่างแต่ก่อนไม่ได้แล้ว มีอะไรก็กินอย่างนั้น และการหาซื้อกับข้าวในบ้านนอกไม่ได้สะดวกและเลือกได้มากเหมือนตลาดในเทศบาลเมืองนะ 

แน่นอนว่าคนบ้านนอกได้เปรียบคนเมืองก็เรื่องพืชพรรณพื้นเมืองที่หากินง่าย แต่เรื่องเนื้อสัตว์ หรือปลา เดี๋ยวนี้หาได้ง่ายเสียที่ไหน ต้องซื้อทั้งนั้น หมอบอกว่าให้งดเนื้อ งดหมู หันมากินปลา ถ้าเป็นสมัยก่อนน่ะทำได้แน่ เพราะปลาน้ำจืดหาง่าย แต่ยุคนี้แทบจะหาคนหาปลามากินเองได้น้อยมาก กลายเป็นว่าเนื้อปลาเป็นของต้องหาต้องซื้อเช่นเดียวกับเนื้ออย่างอื่นไปแล้ว พอถึงตรงนี้คิดว่าชาวบ้านจะเลือกซื้ออะไร ระหว่างเนื้อหมู เนื้อไก่ ทีมีขายอยู่ทั่วไปแถมเก็บไว้ในตู้เย็นได้นานอีกด้วย ซื้อมาก็เก็บทั้งชิ้นได้เลย แต่สำหรับเนื้อปลา ซื้อปลาสดมาทั้งตัวก็ต้องมาแล่ มาล้าง หนึ่งกิโลกรัมแกงมื้อเดียวหมด ขณะที่เนื้อหมูหนักเท่ากันทำกินได้หลายมื้อกว่า

     หลายครั้งเพื่อนบ้านมีงาน มีกิจกรรม ธรรมเนียมของคนหลายพื้นที่ผมเชื่อว่า จะใช้เนื้อสัตว์อย่างหมู หรือวัว อย่างน้อย ๆ ก็ไก่ เพื่อทำเป็นกับข้าวในงาน หรือการเลี้ยงคน น้อยคนที่จะมีการใช้เนื้อปลามาเป็นสำรับ รับรองแขกที่มาร่วมงาน ก็เลยเลี่ยงไม่ได้ทีีจะต้องกินของที่ห้ามสำหรับผู้ที่ป่วยอยู่ เพราะคำว่าคนป่วยไม่ได้หมายถึงคนที่ต้องนอนนิ่งอยู่กับที่ เป็นโรคนิด ๆ หน่อย ยังพอทำงานได้ มีักิจกรรม มีงานก็ต้องไปร่วมกับเขาล่ะครับ




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น