ไม่ได้เล่นเก่งอะไรหรอกครับ ก็แค่กีตาร์มันคัน..ผมก็พอจะเกาให้มันได้แล้วกัน อุตส่าห์ฝึกมา แม้เพิ่งหัดเล่นไม่นาน ก็โอเคแล้ว เริ่มเล่นตอนเรียน ม 2 นี้เอง...??ท??ท?
เขาบอกว่าดนตรีเป็นสื่อสากล ที่เข้าใจกันทั่วทุกมุมโลก ฟังเพลงชาติไหน ๆ ก็เหมือนกัน (ไม่เข้าใจเหมือนกันทุกประเทศ) แค่ได้ยินเสียง หรือทำนองก็พอเข้าใจแล้วว่าเพลงนั้นพสื่อถึงอะไร อารมณ์แบบไหน
คนที่บ้านถามประจำเลย จะเล่นไปทำไม ไม่เคยเห็นจะร้องได้เป็นเพลง ร้องก็ไม่เคยจบเพลง เกามันอยู่ได้ เพลงอะไรก็ไม่รู้
เขาไม่เข้าใจ และไม่ลึกซึ้งในเสียงดนตรีเพียงพอครับ เขาไม่เข้าใจอารมณ์ศิลปิน การฮำเพลง (Hum) มันมีความหมายต่อสภาพจิตใจอย่างยิ่ง คนอื่นฟังไม่รู้เรื่อง..ชั่งมัน แต่คนที่กำลังเล่นมันอยู่ เพลิดเพลินครับ รู้สึกได้ถึงความผ่อนคลาย สมองปลอดโปร่ง ว่างเปล่า ปล่อยอารมณ์ไปตามเสียงทำนอง ตามคอร์ดกีตาร์ แม้จะเล่นไม่เก่ง ก็ยังรู้สึกว่าเพลงที่ตัวเองกำลังเล่นอยู่นั้น ไพเราะมาก ๆ
มีงานวิจัยหลายสำนัก เขาบอกเป็นแนวทางเดียวกัน ว่า เสียงดนตรี เสียงเพลง โดยเฉพาะเพลงบรรเลง (มีแต่เสียงดนตรี) ประเภทพวก บรรเลงออเคสตร้า พวกนี้ จะช่วยด้านพัฒนาการทางสมองของคนเราได้มาก โดยเฉพาะวัยกระเตาะ ๆ เล็ก ๆ ตั้งแต่ อยู่ในท้อง จนถึง 5-6 ขวบ ช่วยได้เยอะ
แต่ผู้ใหญ่หลายคน ไม่ทราบเรื่องเหล่านี้ คิดว่าดนตรีแนวไหนก็ดีหมด ก็เลยเปิดสไตล์ที่ตัวเองชอบให้เด็กฟังซะเลย ก็เล่นเปิดเพลงร็อค หรือ แดนซ์กระจายให้เขาฟัง โตมาเขาก็เลยกระเจิง ไปซะงั้น ดื้อ เพราะอารมณ์ของเขามันถูกฝึกให้แปรปรวนตามจังหวะเพลงครับ เพลงทั้งหลายที่จังหวะเร็ว ไม่แน่นอน ไม่สม่ำเสมอ คนที่ฟังก็มีจิตใจที่ไม่นิ่ง แต่ถ้าเป็นเพลงบรรเลง แบบออร์เกสตร้า จังหวะช้า ๆ เรียบ ๆ จะทำให้ความคิดเขานิ่ง จิตใจสงบ มีสมาธิ คิดอะไรละเอียด รอบคอบ ไม่เขวไปเขวมา
พวกเราเอง โตกันแล้วก็ฝึกได้ครับ มันก็มีผลต่ออารมณ์ความรู้สึกของเราเช่นกัน ลองเปิดเพลงช้า ๆ จังหวะนิ่ง ๆ เรียบ ๆ ก่อนนอนดู(ฟัง)ก็ได้ จะรู้สึกผ่อนคลายได้เหมือนกัน
ผมฟังประจำ ฟังไม่พอ เล่นเองด้วย แต่ขอย้ำว่า ถ้าเล่นเอง ผมต้องอยู่คนเดียว คนอื่นได้ยิน อาจจะนอนไม่หลับก็ได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น