GMO
คำว่า GMO คำนี้ได้ยินมาเมื่อไม่กี่ปีมานี้เอง เป็นกระแสร้อนแรงอยู่ช่วงหนึ่ง มีทั้งคนที่สนับสนุน และออกมาต่อต้าน ผู้สนับสนุนส่วนใหญ่ เป็นผู้ผลิต ที่เป็นเชิงการค้า และกลุ่มผู้ที่ต้องการทรัพยากรเพิ่มขึ้น เพื่อหวังผลในเรื่องเศรษฐกิจของสังคมและประเทศ โดยเฉพาะกลุ่มผู้ผลิตสินค้าเกษตรที่มีอัตราการส่งออกสูงต้องการหวังให้ผลิตมีมากเพียงพอที่จะเป็นรายใหญ่ในสินค้าเกษตรประเภทนั้น ๆ
ส่วนผู้ทีออกมาต่อต้านคือกลุ่มคนที่ไม่ได้ทำการค้า หรือไม่ได้เป็นชนชั้นนักปกครอง ที่มองคนละมุมกับกลุ่มแรก เป็นเรื่องของวัฒนธรรม และจริยธรรม และเรื่องสุขภาพอนามัยมากกว่าด้านเศรษฐกิจ มองเรื่องความปลอดภัยในระบบของนิเวศเกษตร สิ่งแวดล้อม
แต่จะมองมุมไหน ก็อยากให้เกิดการหาทางร่วมกัน คิดร่วมกัน ตัดสินใจจากหลาย ๆ ฝ่าย เพื่อให้เกิดประโยชน์กับพี่น้องประชาชนมากที่สุด ทั้งเรื่องปากท้อง เศรษฐกิจ และ สุขภาพอนมัย รวมถึงสิ่งแวดล้อมด้วย
ด้านดีของ GMO มันก็มีมากนะ อย่างบ้านเราเป็นผู้ผลิตสินค้าเกษตรมายาวนาน เป็นพื้นที่เหมาะกับการปลูกพืชเลี้ยงสัตว์มายาวนานแล้ว ดังนั้นความสมบูรณ์ค่อนข้างสูง ผู้คนเคยชินกับการได้มีอาหารกินอย่างไม่ขัดสน จนไม่เคยลำบากในการหาอาหารมาประทังชีวิต ต่อให้ไม่มีเงินซื้อก็ยังหากินได้สบาย ๆ แต่อีกหลายพื้นที่ของโลก การผลิต การปลูกพืช ทำได้ยากมาก ความต้องการสินค้าเกษตร หรืออาหารเพื่อยังชีพมีมากตามไปด้วย เขาก็ต้องดิ้นรนหาจากแหล่งอื่น ทำให้ต้นทุนสูง และไม่สามารถที่ประทานอย่างฟุ่มเฟือยกินทิ้งกินขว้างได้
แต่ถ้า GMO ที่คิดค้นขึ้นมาให้เหมาะสมกับพื้นที่เหล่านั้นจริง ๆ เพื่อเพิ่มผลิตของพืชและสัตว์ซึ่งเป็นแหล่งอาหารของมนุษย์ มันก็เป็นเรื่องดีต่อมนุษย์เรา ต่อพื้นที่ที่ขาดแคลนจริง ๆ แม้มันจะเอื้อประโยชน์กับกลุ่มนักธุรกิจบางกลุ่ม หรือนักการเมืองบางคนก็ตาม หรืออาจจะดูขัดธรรมชาติของพืชหรือสัตว์บางชนิดที่ควรจะเป็นไปในระดับปกติ แต่นั่นมันก็คุ้มค่า ถ้ามันทำให้มนุษย์ผู้ยากไร้ในพื้นที่นั้น ๆ มีอาหารกินอย่างเพียงพอต่อการดำรงชีพ
มีการออกมารณรงค์ของกลุ่มผู่ไม่เห็นด้วยกับ GMO อย่างกลุ่มกรีนพีช เป็นกลุ่มที่ใหญ่พอสมควร มีสมาชิกมากมายอยู่ทั่วโลก ให้ผู้คนหันกลับไปใช้วัฒนธรรม หรือวิธีการเกษตรแบบเดิม เช่นวิถีเกษตรอินทรีย์ สำหรับประเทศไทย ก็ดูจะเหมาะสม(ถ้าเป็นแค่การผลิตเพื่อบริโภคภายในประเทศ) แต่สำหรับบางประเทศ บางพื้นที่อย่างที่กล่าวไปในตอนต้น ว่ามีความต้องการอาหาร แต่มันไม่เหมาะสมกับการผลิตอาหาร ยังไงก็ดูแล้วน่าจะนำไปวิถีเกษตรอินทรีย์ไปใช้ได้ลำบากอยู่พอสมควร ถ้าไม่พึ่งเทคโนโลยีเอาเสียเลย
มีการทำงานศิลปะกับนาข้าวโดยการปลูกข้าวอินทรีย์ให้เป็นรูปที่สวยงาม เพื่อสะท้อนแนวความคิดให้คนไทยหันกลับไปทำเกษตรอินทรีย์ แต่จะได้ผลเพียงไหนก็ต้องติดตามในระยะยาว เพราะเรื่องเหล่านี้ไม่ได้เกี่ยวข้องกับคนกลุ่มเดียว หรือคนคนเดียว แต่มันเกี่ยวเนื่องกับคนทั่วโลก อย่าลืมนะครับว่าประเทศไทยเราไม่ได้ผลิตสินค้าเกษตรเพื่อบริโภคภายในประเทศอย่างเดียว ประเทศไทยถือเป็นครัวของโลกมานานแล้ว และคิดดูแล้วกัน ถ้าคนไทยผลิตสินค้าแค่พอกิน หรือผลิตแบบเดิม ๆ โดยที่ไม่ใช้เทคโนโลยี จะเกิดอะไรขึ้น กับปากท้องของคนอื่นๆ ทั่วโลก วัฒนธรรมของโลกคงต้องเปลี่ยนไปเช่นกัน แค่เรื่องของข้าว เพียงอย่างเดียว ก็น่ากลัวนะ คนทั่วโลกไม่มีข้าวกิน หรืออาจมีกินแต่ไม่เพียงพอ ก็คงต้องหันไปหาแหล่งอาหารจากพืชอื่นๆ มาแทนข้าว แน่นอนวิธีการดำรงชีพก็คงต้องเปลี่ยน ถ้าหันไปกินหัวมัน หรือพืชอื่นที่ให้แป้ง มันก็จะไม่มีกับข้าวดี ๆ ให้กิน ไม่มีวิถีชีวิตการทำนา ไม่มีแม่ครัวที่จะทำอาหารสูตรต่างๆ อาหารไทยก็คงไม่ได้รับความนิยมอีกต่อไป เพราะส่วนใหญ่อาหารไทยต้องกินกับข้าว ไม่ค่อยจะมีอาหารไทยที่ใช้กินกับหัวมัน ว่าไหม...
(นำเสนอแค่นี้ก่อน ว่างๆ เดี๋ยวจะมาเขียนเพิ่มเติมครับ)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น