หลายคนที่เคยรับประทานอาหารญี่ปุ่น หรือเคยเห็นครีมเขียว ๆ เอาไว้จิ้มกับพวกปลา หรืออาหารทะเลสด ๆ สไตล์ญี่ปุ่น ที่เขาเรียกว่า "วาซาบิ" (ออกเสียงแบบไทย ๆ ) แต่คนญี่ปุ่น จะออกเสียงเป็น วะซะบิ
แต่สิ่งที่ทำให้ใครต่อใครจดจำได้ไม่รู้ลืม ไม่ว่าจะในทางที่ประทับใจหรือไม่ประทับใจก็ตาม คือความฉุนและความเผ็ดซาบซ่าเมื่อสัมผัสปลายลิ้นและมักฉุนขึ้นจมูก จนทำเอาหลายคนหน้าเบ้ น้ำตาเล็ด กันมานักต่อนัก
กลิ่นฉุนของวาซาบิ ที่เราได้ลิ้มลองกันนั้น เป็นสิ่งที่ช่วยดับกลิ่นคาวของอาหารทะเลได้ทุกชนิดเป็นอย่างดีเลยทีเดียว สารที่อยู่ในวาซาบิ เมื่อฝนสด ๆ ออกมาแล้ว จะทำปฏิกิริยากับอากาศ ได้กลิ่นฉุนและให้รสชาติที่ร้อนแรง เผ็ดนิด ๆ และเรียกน้ำตาจากผู้กินได้ไม่ยาก
มาถึงตรงนี้ อาจจะงง ๆ ที่จริงแล้ว วาซาบิ หรือ วะซะบิ เป็นพืชชนิดหนึ่งครับ หน้าตาคล้าย ๆ กับพวกผักอย่างต้นหัวใชเท้า ส่วนผิวเปลือกออกจะไปในแนวพวกบอระเพ็ด เขียว ๆ ปุ่ม ๆ แต่ที่ต่างกันคือ มันเป็นพืชน้ำ ชอบมากกับน้ำสะอาด เดิม ๆ เป็นพืชที่อยู่้ตามแนวป่า หายากมาก แต่มาช่วงหลังมีการนำมาปลูกในระบบฟาร์ม เพื่อการค้ามากขึ้น ชอบอากาศหนาวเย็น บ้านเราคงไม่มีแน่นอน เพราะเป็นพืชพื้ันเมืองขอบญี่ปุ่นเขาล่ะ
วาซาบิมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Wasabia Japonica Matsum เป็นชื่อของพรรณพืชชนิดหนึ่งซึ่งมีสรรพคุณเป็นสมุนไพร คนญี่ปุ่นรู้จักวาซาบิตั้งแต่สมัยนารา (ปีคศ.เจ็ดร้อย - แปดร้อย ก็ประมาณพันกว่าปีก่อนนะครับ) จุดที่ค้นพบเป็นครั้งแรกอยู่ที่จังหวัดมิเอ วาซาบิเป็นพืชที่มีหัวฝังในดินขึ้นอยู่ตามธรรมชาติค้นพบโดยนักบวช ต่อมาแถบจังหวัดยามากูจิ ใช้เปลือกไม้และวาซาบิกินร่วมกับปลายามาเมะ หรือเนื้อสัตว์ป่าเช่นกวาง
ด้วยเป็นพืชเฉพาะถิ่น ที่เติบโตในอากาศจำเพาะ คืออากาศหนาว อย่างญี่ปุ่น ทำให้คนบ้านเรา ไม่ได้รับประทานวาซาบิของแท้กันมากหรอกครับ ส่วนใหญ่ที่ใช้ในร้านอาหาร จะเป็นวาซาบิเทียม เนื่องจากวาซาบิแท้หายาก ราคาสูง และเก็บไว้ไม่ได้นานเพราะเป็นของสด แต่วาซาบิเทียม ใช้งานง่าย แค่นำผงวาซาบิมาผสมน้ำ แล้วคนให้เข้ากัน ก็กลายเป็นครีมวาซาบิ พร้อมเสิร์ฟได้เลย แต่ให้รสชาติที่จัดจ้านกว่า ไม่กลมกล่อมเหมือนของแท้
วาซาบิเป็นพืชที่เติบโตช้า ใช้เวลาประมาณ 25 ปีจึงสามารถเก็บเกี่ยวได้ และปลูกยากมาก ชอบน้ำเย็น อากาศหนาว และต้องเป็นน้ำสะอาดเท่านั้น จึงทำให้ต้นทุนค่อนข้างสูง ปัจจุบันขายกันกิโลกรัมละพันกว่าบาท ถ้าฝนเป็นเนื้อวาซาบิแล้ว ราคาก็พุ่งขึ้นไปอีก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น