หน้าเว็บ

การใส่ปุ๋ย ของชาวสวนยาง


หลายครั้งหลายหนที่สังเกตเห็นชาวสวนยางแถวบ้านเขาบ่นกันเรื่องปุ๋ย ว่าปีนี้ยังไม่ได้ซื้อมาใส่เลย หรือทำไมปุ๋ยแพงเกินไป ไม่มีตังค์ซื้อ หรือขอเปลี่ยนมาใช้ปุ๋ยราคาต่ำ ๆ ยีั่ห้อแปลก ๆ ดูบ้างดีกว่า เห็นเขาว่าดี 

ประเด็นปัญหานี้มักจะเกิดบ่อย ๆ กับชาวสวนรายเล็ก ๆ ที่จะขาดการจัดการที่ดี โดยเฉพาะการจัดการด้านการเงิน เพราะถึงช่วงเวลาเหมาะสมใส่ปุ๋ยทีไร เป็นต้องไม่มีเงินซื้อปุ๋ยทุกที กว่าจะสะสมเงินได้ครบก็หมดฝนหรือระยะเวลาที่เหมาะสมต่อการใส่ปุ๋ยหมดไปเสียแล้ว 

จนการใส่ปุ๋ยไม่ตรงกับช่วงความต้องการของพืช ทำให้เกิดภาวะวิกฤตต่อต้นพืชโดยเฉพาะต้นยางกันมากขึ้น แน่นอนผลที่ตามมาคือผลิตได้น้อยลง ทั้งปริมาณน้ำยางที่ออก เปอร์เซ็นต์น้ำยางด้วยก็ต่ำลง ลองสังเกตุดูกันบ้างไหม(คนที่มีสวนยางน่ะ) ยางที่อยู่ในภาวะสมบูรณ์จะเป็นในช่วงหลังจากพักต้นยางสักระยะแล้วมากรีดเอาน้ำยาง จะเห็นว่าน้ำยางออกมาข้นมากเปอร์เซ็นต์น้ำยางสูงเชียวนะ และปริมาณก็เยอะดีด้วย ส่วนใหญ่จะเป็นอย่างนี้หลังฤดูฝนครับ

ปัญหาการไม่มีเงินซื้อปุ๋ย ที่จริงเป็นปัญหาส่วนตัวของเกษตรกร ไม่ได้เกี่ยวกับราคาปุ๋ยมากนักเพราะมันก็ขึ้น ๆ ลง ๆ ไปตามราคาวัตถุดิบอยู่แล้่ว ชาวสวนหลายท่านได้เงินมาจากการจำหน่ายผลผลิตก็มักจะไม่เก็บเงินส่วนหนึ่งไว้เป็นต้นตุนในการทำงาน คือเราคิดง่าย ๆ การทำสวนก็เหมือนเราทำธุรกิจอย่างหนึ่งเช่นกัน ดังนั้นต้องมีเงินทุนสำรองไว้ส่วนหนึ่งเสมอ เพื่อไว้หมุนในกิจการ แต่มักขาดการสนใจและละเลย ค่อยหาเงินมาซื้อปุ๋ยเอาตอนที่เห็นฝนเริ่มตก ดินเปียก ๆ กันแล้ว มันจะไปทันได้อย่างไร เพราะตอนเข้าช่วงหน้าฝนหรือฝนตกติดต่อกันหลายวันไม่สามารถกรีดยางได้ จะเอาน้ำยางที่ไหนมาเปลี่ยนเป็นเงินกันล่ะ

แต่เกษตรกรหลายท่านมักจะเต็มอกเต็มใจในการเก็บเงินไว้ผ่อนโน่นผ่อนนี่ ผ่อนไปผ่อนมาเหลือแต่หนี้บานเบอะ เพราะผ่อนแต่ดอกเบี้ย ส่วนต้นยังยังผ่อนไม่หมด ถ้ายังมีต้นอยู่วันดีคืนดีดอกมันก็โผล่มาอีกนั่นล่ะครับ ไม่หมดไปซะง่าย ๆ พูดง่าย ๆ การได้ผ่อนมักจะมีค่านิยมว่าเป็นคนมีเครดิต 
ประเด็นหลักทีี่เกษตรกรมักให้ความสำคัญของการบำรุงต้นพืช เพราะถือว่าพืชสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้แม้จะไม่ได้รับธาตุอาหารจากภายนอกหรือจากปุ๋ย อันนี้ก็จริงส่วนหนึ่งครับ พืชอาจจะไม่ตายลงในทันทีทันใดหรือเห็นผลไม่ชัดในระยะเวลาอันสั้น แต่เชื่อเถอะจะมีผลอย่างมากและเห็นได้ชัดในเรื่องของการให้ผลผลิต ไม่ว่าจะเป็นพืชอะไรก็ตาม ทั้งปริมาณ คุณภาพของผลผลิต

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น