ปกติเราเจอสแปมกันในอีเมล์ หรือที่เราเรียกกันง่าย ๆ ว่าอีเมล์ขยะนั่นเอง คือคนที่ส่ิงอีเมล์โดยที่ไม่เคยรู้จักกันมาก่อนนั่นล่ะ เพื่อเชิญชวนให้เจ้าของอีเมล์เข้าร่วมกิจกรรม หรือเพื่อการโฆษณาสินค้า หรือส่งข้อมูลอย่างอื่นเพื่อผลประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นที่น่ารำคาญ เพราะส่วนใหญ่เข้ามาแล้วครั้งเดียวไม่พอ จะเข้ามาซ้ำซ้อนกันมากกว่า 1 ครั้ง
แต่ในปัจจุบันเริ่มมีคนหัวดีเริ่มนำวิธีการสแปมเข้ามาอยู่ใน เฟสบุ๊ก(facebook) ที่กำลังได้รับความนิยมอย่างมากในเมืองไทย เพราะเป็นสังคมเครือข่ายออนไลน์ที่ผู้เล่นมีตัวตนจริง ๆ และมักนิยมแสดงตัวตนพร้อมข้อมูลจริง โดยส่วนใหญ่แล้วผู้ใช้วิธีการสแปมจะเป็นพวกทำธุรกิจเครือข่าย โดยเราจะเห็นพวกจำหน่ายอาหารเสริม หรือยาลดความอ้วนต่าง ๆ และพวกขายตรงทางอินเตอร์เน็ตรายอื่นๆ ใช้วิธนี้กัน ทั้งโดยวิธีส่งอีเมล์ และการให้เข้าร่วมกลุ่ม หรือให้เข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ
อย่างที่เจอบ่อยตอนนี้ เช่น "รับโปรโมต web site Magazine Online" หรือ
"เปิดตัวแรง!! *magazine online!!* ด้วยหน้าปก 5 สาวWonder Girls! ภายใต้ชื่อ นิตยสาร Jump Online
ครั้งแรก ที่แรกและทีเดียวของเมืองไทย!!! ตามหาผู้ร่วมก๊วนเรา!!! มีสิทธ์เข้าร่วมหลายๆกิจกรรมดีๆมากมายยยยย
สนใจร่วมงานโปรโมทสื่อแมกกาซีนออนไลน์ คลิกลิงค์ด้านล่าง"
และอีกหลาย ๆ รูปแบบคำเชิญชวน ที่มีการติด tag ชื่อบุคคลที่เป็นสมาชิกในเฟสบุ๊ก เพื่อให้สนใจ และเพื่อน ๆ ของคนที่ถูกติด tag เห็นข้อความและภาพปรากฎในหน้าแรกของเฟสบุ๊ก คลิกเข้าไปดูจากนั้นก็เรียกร้องให้เข้าไปสมัคร โดยการให้กรอกรายละเอียดส่วนตัว ทั้งชื่อ ที่อยู่ อีเมล์ติดต่อ เบอร์โทร
สิ่งที่เกิดขึ้นก็ดูเหมือนกับว่าสแปมดังกล่าวเป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล เพราะบางครั้งข้อมูลบางอย่างที่มีการติด tag ชื่อเพื่อโปรโมตสินค้าหรือบริการอย่างนี้่้ ไม่ได้เป็นสิ่งที่เจ้าของชื่อต้องการมากนัก แต่หลายคนบอกว่ารำคาญ
...............
ขอนำส่วนหนึ่งจากบทความ เรื่อง "ระวังภัย! สแปมบนเฟสบุ๊ก ลวงขาย MLM" โดย ASTV ผู้จ้ัดการออนไลน์ 20 สิงหาคม 2553 15:35 น.
.................
จากปัญหาสแปมที่เริ่มเข้ามาระบาดบนเฟสบุ๊กได้ประมาณ 2-3 อาทิตย์ที่ผ่านมา ทำให้มีสมาชิกเว็บบอร์ดพันธุ์ทิพย์ ดอทคอม ห้องเฉลิมไทย ที่ใช้ชื่อล็อกอินว่า "แพนิดา" ออกมาตั้งกระทู้เตือนภัยสแปมดังกล่าว โดยพาดหัวว่า "ฝากเตือน ธุรกิจอาหารเสริม HBL ที่มาในรูปแบบ JUMP magazine online"
ภายในกระทู้ดังกล่าวพูดถึงปัญหานี้ว่า "เราเป็นคนหนึ่งที่เคยโดนนิตยสาร JUMP Magazine online ติดแท๊กรูปของนิตยสารบนเฟสบุ๊ก ด้วยความอยากรู้อยากเห็นจึงกรอกข้อมูลลงไป หลังจากนั้นก็มีผู้หญิงโทรมาหา คุยสักพักก็บอกว่าโทรมาจากบริษัท Global Advertingซึ่งเราจำได้ว่าเป็นธุรกิจของยาลดน้ำหนักยี่ห้อ Herbalife"
"เจ้าหน้าที่พยายามจะบอกเราว่า บริษัทรับทำแม๊กกาซีน ออนไลน์ โดยเรียกให้เราไปอบรมวิธีการโฆษณาผ่านแม๊กกาซีน ออนไลน์ ที่ตึกเอ็มไพร์ ทาวเวอร์ ถ.สาธร แต่จริงๆ แล้วเป็นการเรียกไปอบรมเพื่อให้รู้ว่า ถ้าทำเฮอร์บาไลฟ์ แล้วจะได้เงินเยอะแค่ไหน"
เมื่อมองย้อนกลับไปจะเห็นได้ว่า สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นเพียงปัญหาเดิมๆ ที่เกิดขึ้นกับผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ เพียงแต่ปัจจุบันด้วยกระแสความร้อนแรงของเฟสบุ๊ก จึงทำให้มิจฉาชีพเหล่านี้ เริ่มมองเห็นช่องทางใหม่ในการทำตลาดธุรกิจขายตรง หรือเอ็มแอลเอ็ม เหมือนที่หลายๆ ธุรกิจทำการแก้ปัญหาเบื้องต้นที่ผู้บริโภคพอทำได้ในขณะนี้คือการหลีกเลี่ยงการกดตอบรับเพื่อเข้าร่วมกิจกรรม หรือกรอกข้อมูลส่วนตัว อีเมล์ และเบอร์โทรศัพท์ลงไป เพื่อป้องกันการถูกคุกคามทางโทรศัพท์ หรือการรายงานกิจกรรมดังกล่าวไปยังผู้ดูแลระบบ โดยกดด้านล่างสุดของหน้าเว็บเพจ จากนั้นเลือกเหตุผลในการร้องเรียน
ตัวแทนจากสถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม (สบท.) กล่าวว่า ถ้าผู้บริโภคมั่นใจว่าสแปมที่เข้ามาในเฟสบุ๊กมาจากบริษัทเดียวกัน สามารถรวมตัวกันเพื่อแจ้งความดำเนินคดีกับบริษัทดังกล่าว เพื่อเป็นการปลุกแสให้ผู้ที่เกี่ยวข้องเห็นถึงความเดือดร้อนที่ได้รับ และเข้ามาช่วยกันแก้ไขปัญหาดังกล่าวให้ทันท่วงที
ภายในกระทู้ดังกล่าวพูดถึงปัญหานี้ว่า "เราเป็นคนหนึ่งที่เคยโดนนิตยสาร JUMP Magazine online ติดแท๊กรูปของนิตยสารบนเฟสบุ๊ก ด้วยความอยากรู้อยากเห็นจึงกรอกข้อมูลลงไป หลังจากนั้นก็มีผู้หญิงโทรมาหา คุยสักพักก็บอกว่าโทรมาจากบริษัท Global Advertingซึ่งเราจำได้ว่าเป็นธุรกิจของยาลดน้ำหนักยี่ห้อ Herbalife"
"เจ้าหน้าที่พยายามจะบอกเราว่า บริษัทรับทำแม๊กกาซีน ออนไลน์ โดยเรียกให้เราไปอบรมวิธีการโฆษณาผ่านแม๊กกาซีน ออนไลน์ ที่ตึกเอ็มไพร์ ทาวเวอร์ ถ.สาธร แต่จริงๆ แล้วเป็นการเรียกไปอบรมเพื่อให้รู้ว่า ถ้าทำเฮอร์บาไลฟ์ แล้วจะได้เงินเยอะแค่ไหน"
เมื่อมองย้อนกลับไปจะเห็นได้ว่า สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นเพียงปัญหาเดิมๆ ที่เกิดขึ้นกับผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ เพียงแต่ปัจจุบันด้วยกระแสความร้อนแรงของเฟสบุ๊ก จึงทำให้มิจฉาชีพเหล่านี้ เริ่มมองเห็นช่องทางใหม่ในการทำตลาดธุรกิจขายตรง หรือเอ็มแอลเอ็ม เหมือนที่หลายๆ ธุรกิจทำการแก้ปัญหาเบื้องต้นที่ผู้บริโภคพอทำได้ในขณะนี้คือการหลีกเลี่ยงการกดตอบรับเพื่อเข้าร่วมกิจกรรม หรือกรอกข้อมูลส่วนตัว อีเมล์ และเบอร์โทรศัพท์ลงไป เพื่อป้องกันการถูกคุกคามทางโทรศัพท์ หรือการรายงานกิจกรรมดังกล่าวไปยังผู้ดูแลระบบ โดยกดด้านล่างสุดของหน้าเว็บเพจ จากนั้นเลือกเหตุผลในการร้องเรียน
ตัวแทนจากสถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม (สบท.) กล่าวว่า ถ้าผู้บริโภคมั่นใจว่าสแปมที่เข้ามาในเฟสบุ๊กมาจากบริษัทเดียวกัน สามารถรวมตัวกันเพื่อแจ้งความดำเนินคดีกับบริษัทดังกล่าว เพื่อเป็นการปลุกแสให้ผู้ที่เกี่ยวข้องเห็นถึงความเดือดร้อนที่ได้รับ และเข้ามาช่วยกันแก้ไขปัญหาดังกล่าวให้ทันท่วงที
JUMP Magazine เป็นหนึ่งในสแปมที่ถูกส่งเข้ามาบ่อยที่สุด |
กระทู้เตือนภัยที่ได้รับความเดืิอดร้อนออกมาตั้งบนเว็บไซต์พันทิพย์ดอทคอม |
ภาพตัวอย่างข้อความการโปรโมท และรายละเีอียด |
มีรูปแบบการเชิญชวนที่แตกต่างกันออกไป |
ผู้ใช้งานเฟสบุ๊กจะได้รับสแปมเหล่านี้ไม่ซ้ำแต่ละวัน แม้จะกดไม่เข้าร่วมกิจกรรมไปแล้วก็ตาม |
...........................................................
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น